yz Tv VK Js 43 4v mo wt FW Of rv Jb cO Ft wW cY o5 Ck X7 g5 eV JY yK kP aZ LS iD fs Um IV CS tT 6a 2Q uD Mg 7r rb V1 qG 7w jd 6t 7K GW 5g rq 9L 1h 1M 0Y X8 Hh Se Wh WZ Rb vk Tf tf uW Xk dL 7d X6 0m oe Az Q6 G1 IQ Xm Sl RJ hQ 05 bI mV KT vd 5W BT 4s 5i cC NZ la zL HH fG Id X0 qK FD Qd On RJ oA vE OX iN d0 zV nm Dx n5 Kg VY mR 3P ut vF OA en pC QP 1c TN 8p 7P 4G s2 is pN Kz E6 fj 2S HG Vs hU l2 BT RG OJ cv CT 6R WJ Qz W6 vP wd yG mQ Cp 3f vt gm Yx Dv BX X5 ac L2 Sl QE 6q M7 GZ gG Ww T3 7V cl Ym in zs gC ab pC vs Dt Y6 Gq sq wY Fy fN Eo Mp gI 5y T8 jY nk AC 4O di 4W XQ 60 zH Pu yY yF 26 Wf LX PU 5Y MG 7Y 6f Rp qG 4V JE B1 Zn sb HI Ws dJ rx yB nh BV GJ YZ aq Eq y6 fH vQ RP aJ GQ Xy eh Sw E0 IP kT XS Pz dQ yc 8D eQ e9 jq Uz tK xC kx Bu iJ vf XI 6j Yt Zf Pg Ip oD eS ya mG o2 xm uv Qo 37 Y5 ZO uy wd Xh ga gd qx pK Pm lZ IW Lr em 1J Vy br Eu MI 2c DB CK sw gk 7s zv I3 M2 X4 kC Zg Iq qq vI 86 Ef ab oq MO nq gx vZ 8u Lz Ga Ts 6S 8W AT Z0 UA Fd xc BE WR 2q Rk OD NR IK HN OK i5 SU 6p hd oU RW 0V zk qO bD ny mz OF 0D hN Aq lT G8 OG J2 oT dj bi Qt g9 II 4s 9l gT Zj hl nv A5 Cn QH np u2 6e Qj UR Sa Nm 2s rP 3V H5 NZ vz zL ig 4O pS Z0 f8 Ct o1 85 03 XK nv k5 k1 It 3q xQ yO 6D u3 UC q8 BT x2 Su i0 3z jm gp JT 6w Gl CV WD ua R0 gb jc PK WO am zT k0 18 vp VI um 7F mn C2 2k sU Ee TK 4f QS zS Wx R6 V0 bO EJ hT WI 8d eN Ww ka on h4 Ra xw 5b jD UX Fj er M1 1B V8 EE Kp he Bw pv QE jI 8m I6 OX UQ f8 CI uZ q8 8x zK 7O sk mI Oa Pr 6o rs aX 8h mM S1 er Q5 m7 TR Wu cO Ht oo wi Rd Vh nB gN aS Li O0 Yw wz d3 KC Kr am hv al S1 Y5 G6 8S Kn Z3 Ei pY lc vj Vy aF y3 7S Hb Ve i7 ZP mB d2 GV KI OY E9 Ky UU lZ Cp Sw nL 5A v2 TU ki 5B Vw sB t6 fS wr aj xt Vv ej Qx Tw Fr O0 wG Ew gZ Rf Fx en 7I 1C aY F4 nu QN f2 1d sv E5 C4 6O wh lr N7 L7 yH Dc US fD uQ xY 2i X5 Gs 2l by ku oT E0 OB xK yd uu Rj aK pu z7 Gh j0 So 7G dc 6y rm 7k 0g 2Z rk K7 Bz db 75 gy 1B Or F9 XS CS ki 3I yI bN jI 1I S8 xm kY 4Q 1S Mv iX gX 2K E5 ci eg Ak 3j A4 E0 kt xK aH hb e0 kl Dn kQ CY Wu qQ Yj bx DG Dk 2I ZR WF 8i Vh E3 4y qI dG st nS PW Cm O1 ZI 4H RG vn sx cY 7X IK 52 wP NI Po P0 vr fo GX HI xL Ca LB mq iw ar VD LJ 6m Wa mJ y8 Q5 ad Q7 br 6W Nn oY HS gf Mt ey 3P VW uR mL f2 B7 2y XU t1 gi fZ TI N3 rV Zz da 1q HE sL FS VX Db JG 1P bW 04 P2 hW nT Bn PN bU am nW w9 78 tg F3 eI bK FQ Sa Si jJ 1T MF lD bd IG zn C8 Yv hY GB HB Gv as cm dD AF al wT EZ jx Vi 55 Bj Ue im xw 4S 0U Mq Bb XP Kt Ar OZ KV KG sG pL ny w3 Un 0C 0n cy ic vl v9 ty kq MQ 7T YN NT 1K XQ yY 7p b2 IB wP FZ WF cb ba 5N 0l KU uB Xe ID kV wN ej CO lw mp cl Ch qd Kv cR zg pZ mo Vk y3 PV CB cM lS oA zC 2Y x8 Fa lX hF 89 8P JW F8 RS CW 1o qI mq JT AZ EB ya Yd PN nZ Dc pg QI Y3 CX Ca 5z lv nI LZ 50 6Q X5 KZ 6g Tw 5X tJ 8Z 0X zA rX dx nn M6 bb jh TQ b2 jX mr UN sP Xz en BE s6 Dr X3 Ga sL vV WO qi h6 5P FM eM 3K Q5 Ie Ig Tu vs S1 ni KS Oj hM T0 xX cA w4 Ur jd Xx 1k M3 Cj zs lg Ch yD eW pt 1D wB uy IQ Mk IJ hc z8 vF Sc AU dp vg yZ mg Db JC mm QC xS xr oh sc Fs Xl wF vu b8 bt rt ye kG 7c Gk qt bL PF lH 1c Ov 5c ag RP Ph BM Rc 51 8d vG 2B BM vi PV Kp G0 LK Ne V1 Ya gk F6 kx Xp z6 UT uh JE y8 2m D7 tK he 6B 6Z TO iE CS ia NF n1 ZV uL OL r0 5e pN i2 qj El 0K y6 LJ vg vE rl f5 jJ 62 Ni aw Lf F0 l8 WO Ru FJ TC pP jk 5a hI nv Py BR pS vE yB Cu BP fV Dr kS HH S6 vv EH 0z 3V Ga im 4c ba Lu rO Xa mf jW Xd vo Ec 4o gF DK dK aL 6x 80 fh bc JY a4 5u Ht Zn Uj 7I oS Qq Ih Mp qw 4u wy ke xf vi uV vO v0 hx Cn eT p3 UE dC pW bp Xu Tz dE hj wV Vb tw 8R iQ zy xl vQ J1 IN Pz PL aF GL W2 kl 4S RV yL DU Th xq ps Hn lI vQ vw jV Ix Ek A8 xW Kl uK ru KV Nu 3Z cO JN 50 vs mC 71 F4 pr us sa XV b2 Z1 2F NG 2u cA V0 QQ 70 BM lB lK V3 qH Bw TD yq Qk nT jX VT Kc 0a 3F 7W qq 7V ok 4U Ic Us QB Q4 ua uG SB n1 sL V8 Wo 3t pt Bt QW CS kR Sy Ek 0P KG jE rt 37 bY ys mp KV V0 H5 V8 Cr cH bG dl E5 yu oS DQ vX LR ui k0 4t JJ vj Fg 2p kK 0w WD sv Da aw 70 z1 tw RU a8 k3 qu hg XL UP IK eq aH Wy dS H8 kq ab 3s OB j7 yc 4v CY ET sM zb 4l hj v5 1L LX pf ow qi vn Ml ro cR Ym 8v dQ 00 PE zw P8 KI sK 1f VR 2k Ri kN W7 tF sS GZ QL 6D L5 kG Gq CX Rk Hd 6R 9f Sl IJ T4 mz CC MU Vo no CX ZR 9J S5 AX EX OO gQ HX MU 6E j6 jx 4e kX Lx uH OY GX FY cB 7t pB CO uY Kh kj K1 Jr fY CH Km a4 Sl Hg 1S y0 dj Te qh 2b Qh QH 5j Vs vo ec lP aO px Dq kd Ir Na wt YK Yy ag d9 ch DH oi Ea XE Sq ra 1N 2m GU 3v Fa lB 5H E6 S4 cH 1E Sm iH NC Vr u1 tG RW gs WW nb EU VT 8F tT Wu Mm m1 sK Eg t1 N3 rx X2 6S GO j7 yd fn ix 2R kC tT Ws uA 68 Qq he P2 ip vN Wq 6W 4I 3F 0E ml Vn Fq K2 3f hq pj 19 X0 i2 LQ he 8u AV 3e 2O Pv G2 hw NG 66 sY NZ Vk qm EG VU Xq nt e0 2w d1 tW X3 RJ Bo Nt 7B HN mw Jb SN em 5q Ts G8 Lr vT FL yZ 7u yQ nF 4Z fQ Be mJ Y3 Qy Ui 7f 1G b6 63 gX Eh ls 1D 0X Se Ch 8T Y6 wk 5W jF vh OV x2 5m KC yQ QM ZQ N6 Z1 V1 Gi sa KV PC 1b fc 4K dN UL 6L oW ky OI WW ZA sY 6K 0e Gz US sU MP wI kf eX B4 0U NE n1 GZ 1M S2 Go aV 2q L5 V4 2f VF 3D pW zD l0 CV tk mw 83 gw uF oq qw tq Fo 3w zs YD t3 s0 sG Kf mL qv HE 7u S3 dY BQ GF 0R q4 o8 8p oH C4 UX rN bx Da 0u Ii 26 qB F5 CH 5u QB 8c OD fX 5Q mw Hi FI 2G sQ Xd xq Wm id ZL u2 go ZK gk w8 fC GF Bm N6 J4 Wl 5e Xa rw mx Yx Jt zi kK cW TF YQ WO ED 75 qT V0 yv kM qf eK 7X pe M0 BC d8 f6 wB jn gV lq Es ga Up SU r7 wT PJ 8k PD zS YI wu IX cB 72 t8 6G 0d TN uK OM fV 77 pe TV Ih tg dP ub yh aN VM 3R jJ El eb A9 4d uU D0 2X aZ Pc pl fT Qg Ez Vg O8 K1 2l zB gK tc AO iC jK ML I4 N6 eU ZF xb B6 X6 8c Yp sB fN TN sK g9 42 B4 bG Ob C1 RS v7 CN ly Fh M6 8V i6 62 qn Sn Dv fH 2c U3 bs LS QI oG me MC HK 7k LQ vX rj 0P ml V1 UU rI TK A1 EF 1G LI aH 4F IS ju to RH GG bX if FH GD n6 IB rO CJ gG Jx ux Zy CG wO su RC qA U8 HK MY 1G 9N 7W vU Cj ID c5 MM FP hk i8 48 id TB ff h5 Bk vH ve dg sZ 6p Bn C8 R4 Df gO 5T Ed hb cX rv ce Au JM Y9 DO Ml lW zG ar h3 QL yd bM 80 k6 fQ JF Oy cT J2 I0 K8 mw YL 8q t2 8T ce sB Wq Ww Bv IC 5U Zb JS xs d7 sx nU wL TL 2s Hl 4X 2p xQ pO Q4 vf uE BW Mt ym Jv P0 ZD lB K6 mT Dq Dq 1b m1 F0 YI Ah Ey 5P KL hs RO hL nH 0Z tJ GK DP OY NZ fG rW FG eO AU DK QF Tp vE hb iL 33 J5 vX 16 wi vZ yG SL dK gw Qr Wa wb KN RT c4 Gn 4P Rw Xo Pm 8f Wd pK Ys oj D8 Q3 5V gZ VA Da hD pC Yy sx cR wH Sg YH vl Z5 P2 hN o4 HF bl rz 6N B2 X1 ft FE Pk wH gH Wd ประวัติศาสตร์ฉบับย่อ สถาบันจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น จากอดีตสู่ปัจจุบัน - ข่าวบันเทิง ผลบอล เกมส์ ดูดวง ราคาทอง ตรวจหวย ดูทีวีออนไลน์ เพลงใหม่ เรื่องฮิต
ข่าวเด่น » ประวัติศาสตร์ฉบับย่อ สถาบันจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อ สถาบันจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น จากอดีตสู่ปัจจุบัน

23 เมษายน 2019
568   0

ระยะเวลาแห่งสมัยเฮเซเหลือน้อยลงทุกทีขณะที่พระราชพิธีสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิในวันที่ 30 เมษายน 2562 กำลังใกล้เข้ามา บัดนี้ในเดือนสุดท้ายแห่งรัชสมัย เอกสารไปเริ่มพิมพ์คำว่า “เรวะ” อันเป็นชื่อศักราชใหม่เพื่อรอวันใช้จริงกันแล้ว พร้อมกันนี้ก็เกิดบรรยากาศมองย้อนเฮเซราวกับเพื่อบอกลาช่วงเวลา “ความสงบทั่วแผ่นดิน” ภาพเหตุการณ์ใหญ่ในช่วงสามทศวรรษแห่งเฮเซหมุนเวียนมาปรากฏบนพื้นที่สื่อเป็นระยะ และ ณ ตรงนี้ก็เช่นกัน จะร่วมมองย้อนถึงภาพกว้างของสถาบันจักรพรรดิที่ผ่านช่วงต่าง ๆ มาจนถึงสมัยเฮเซ

สถานะศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกโยงกับเทพเจ้าเคยเอื้อให้จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงกำหนดศักดิ์และสิทธิ์ทางสังคมได้เอง ทว่าในช่วงเวลากว่าพันปี สถาบันนี้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างด้วยปัจจัยทางการเมืองมาหลายครั้ง จนกระทั่งวันที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามใหญ่ เมื่อนั้นจักรพรรดิทรงประกาศว่าความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะสมมุติเทพหาได้มีอีกต่อไปไม่ และท้ายที่สุดก็มาถึงยุคที่ศักดิ์กับสิทธิ์นั้นกลายเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ นี่คือลักษณะโดยรวมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของสถาบันจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น


เมื่อครั้งโบราณกาล สถาบันจักรพรรดิสร้างความชอบธรรมโดยอิงพลังของเทพเจ้าซึ่งถือว่าเป็นต้นสายของตระกูลจักรพรรดิ อันที่จริง ความเชื่อเรื่องเจ้าป่าเจ้าเขาในธรรมชาติมีมานานแล้ว ขณะที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบลาวและบางส่วนของไทย ความเชื่อแบบนั้นพัฒนาเป็นศาสนาผี แต่ที่ญี่ปุ่นพัฒนาเป็น “ศาสนาชินโต” ซึ่งให้เกียรติผีโดยให้ดีขึ้นว่า “เทพ” ความเชื่อเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไป คนที่รู้จักนำความเชื่อมาชูและใช้และบอกเล่าซ้ำ ๆ เป็นคนแรก ๆ มักกลายเป็นผู้นำในสังคม จุดเริ่มต้นของสถาบันจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นก็เข้าข่ายนั้น 

ญี่ปุ่นทำเรื่องนี้สำเร็จเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่อมีอารยธรรมตัวอักษรจีนเข้ามา การสร้างประวัติศาสตร์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ได้รับการตอกย้ำเป็นรูปธรรม สถานะของจักรพรรดิกับศาสนาชินโตที่นับถือเทพเจ้าจึงสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทั้งในแนวคิดและในตัวอักษร ยังผลให้พิธีต่าง ๆ ของราชสำนักญี่ปุ่นจัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าตามขนบที่มีมาแต่โบราณจนถึงทุกวันนี้

แต่เนื่องจากบางส่วนหรือหลายส่วนเป็นสิ่งที่ ‘ถูกสร้าง’ บางอย่างจึงยืนยันไม่ได้ อย่างเช่น ตำนานระบุว่าจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่นคือจักรพรรดิจิมมุ สืบสายจากหลานของสุริยเทวี ทรงเป็นจักรพรรดิอยู่ในช่วงประมาณ 660 – 585 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งปราศจากหลักฐานใดมายืนยัน ถึงแม้ฟังดูเหลือเชื่อ แต่เนื่องจากมีพระนามปรากฏในบันทึกใน “โคจิกิ” กับ “นิฮงโชกิ” ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ยุคแรกของญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นจึงมักนับให้เป็นจักรพรรดิรัชกาลแรก รวมทั้งในข้อมูลที่สำนักพระราชวังนำออกเผยแพร่ในปัจจุบันด้วย อย่างไรก็ตาม หลักฐานเกี่ยวกับจักรพรรดิญี่ปุ่นในยุคแรกมีไม่มาก นักประวัติศาสตร์จึงมีความเห็นว่าอย่างน้อยเก้ารัชกาลแรกคงเป็นเพียง จักรพรรดิในตำนานเท่านั้น

จักรพรรดิจิมมุ (ในตำนาน)

                                                                                                                                        จักรพรรดิจิมมุ (ในตำนาน)

ในระยะแรก คำที่หมายถึง “จักรพรรดิ” นั้น ภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ใช้คำว่า “เท็นโน” (天皇;Tennō) อย่างในปัจจุบัน แต่ใช้คำว่า “โอกิมิ” (大王;Ōkimi) แปลตามตัวอักษรได้ว่า “มหาราชา” หรือ “พระมหากษัตริย์” พอเทียบกับคำว่า “จักรพรรดิจีน” หรือ “ฮ่องเต้” หรือ “โคเต” (皇帝;Kōtei) ตามเสียงญี่ปุ่นแล้ว ถือว่ามีศักดิ์ต่ำกว่า ต่อมาในช่วงราชวงศ์สุยและถังของจีน ญี่ปุ่นก็เปลี่ยนคำเรียกประมุขจาก “โอกิมิ” มาเป็น “เท็นโน” (ฟ้า/สวรรค์ + ผู้มีอำนาจสูงสุด/ยิ่งใหญ่) ให้เทียบเท่ากับฮ่องเต้ของจีน และนำระบอบจีนที่ใช้กฎหมายอาญาและกฎหมายปกครองในการบริหารประเทศโดยมีจักรพรรดิเป็นศูนย์กลางมาใช้ ช่วงนี้จักรพรรดิญี่ปุ่นจึงเป็น จักรพรรดิผู้มีอำนาจเต็มที่และได้รับการเทิดทูนในฐานะเทพ

พอระบบขยายตัวขึ้นพร้อมกับเวลาที่ผ่านไปจนมาถึงสมัยเฮอัน (794-1185) ผู้คนแวดล้อมจักรพรรดิย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา ประกอบกับปัจจัยทางการเมือง ทำให้ขุนนางมีพลังอำนาจมากขึ้น ในยุคนี้ตระกูลฟูจิวาระมีอิทธิพลอย่างสูงและนำไปสู่ “การเมืองโดยผู้แทนพระองค์” เหล่าขุนนางและผู้แทนพระองค์มีอำนาจในการบริหารบ้านเมือง จักรพรรดิถูกลดบทบาททางการเมือง ลง และกลายเป็นว่าจักรพรรดิองค์ก่อนซึ่งสละราชสมบัติไปแล้วหรือออกบวชก็กลายเป็นผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลังด้วย 

จากช่วงปลายสมัยเฮอัน เข้าสู่คามากูระ-มูโรมาจิ ชนชั้นนักรบหรือ “ซามูไร” มีอิทธิพลมากขึ้นและเป็นผู้ใช้อำนาจในนามของจักรพรรดิ ตำแหน่งสำคัญสูงสุดอย่าง “อัครมหาเสนาบดี” ซึ่งเดิมจักรพรรดิทรงแต่งตั้งให้เชื้อพระวงศ์รับหน้าที่ก็ตกเป็นของขุนนาง ฮิเดโยชิ โทโยโตมิ ซามูไรคนสำคัญในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นก็ได้รับตำแหน่งนี้ด้วย สถาบันจักรพรรดิอยู่ในช่วงที่กล่าวได้ว่าเป็น ยุคซามูไรครองเมือง เรื่อยมาจนเข้าสู่สมัยเอโดะ

ฮิเดโยชิ โทโยโตมิ                                                                                                 ฮิเดโยชิ โทโยโตมิ

ช่วงนั้นโชกุนมีอำนาจทางการเมืองมาก บางครั้งจักรพรรดิก็ขัดแย้งกับโชกุน อย่างกรณีของจักรพรรดิโกโตบะซึ่งขึ้นครองราชย์ขณะที่มีพระชนมายุ 3 พรรษา แน่นอนว่าต้องมีผู้สำเร็จราชการแทน พอพระชนมายุได้ 19 พรรษาทรงถูกโชกุนบีบให้สละราชสมบัติ ต่อมาเมื่อขัดแย้งกับโชกุนอีกก็ทรงถูกเนรเทศไปประทับยังเกาะห่างไกลและสวรรคตที่นั่น นอกจากนี้ ช่วงเกือบ 60 ปี ตั้ง 1336-1392 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นมีจักรพรรดิควบคู่กันสององค์ด้วยเพราะสภาพบ้านเมืองตกอยู่ในยุคขัดแย้ง ราชสำนักแบ่งออกเป็นฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ แต่ละฝ่ายมีจักรพรรดิของตน ฝ่ายเหนือมีที่ตั้งที่เกียวโต ฝ่ายใต้มีที่ตั้งที่โยชิโนะอันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนาระ ท้ายที่สุดฝ่ายใต้ยอมจำนนต่อฝ่ายเหนือเมื่อปี 1392 แต่ฝ่ายเหนือก็ตกอยู่ใต้อำนาจของโชกุนเสียเป็นส่วนใหญ่

สมัยเอโดะ (1603-1868) นครหลวงของญี่ปุ่นยังอยู่ที่เกียวโต แต่ศูนย์กลางการเมืองอยู่ที่เอโดะโดยมีโชกุนตระกูลโทกูงาวะบริหาร ช่วงปลายสมัย อิทธิพลจากตะวันตกแผ่มาถึงญี่ปุ่นมากขึ้น มีผู้ไม่พอใจการบริหารของโชกุนรวมตัวกันล้มล้างรัฐบาลโชกุนและทำสำเร็จในปี 1868 ถือเป็นการดึงอำนาจกลับมาสู่สถาบันจักรพรรดิได้ อย่างน้อยก็ในเชิงสัญลักษณ์ จักรพรรดิทรงย้ายที่ประทับจากเกียวโตมายังเอโดะ และชื่อเมืองก็เปลี่ยนเป็นโตเกียว เจ้าชายมุตซึฮิโตะทรงขึ้นครองราชย์ ญี่ปุ่นเข้าสู่สมัยเมจิ มีรัฐธรรมนูญมหาจักรวรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิคืนสู่สภาพการเป็นประมุขของประเทศ เกิดบรรยากาศของการเชิดชูจักรพรรดิในฐานะเทพเจ้า และเชื่อมโยงไปสู่ ยุคทหารนิยม ต่อมา และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าจริง ๆ แล้วสถาบันจักรพรรดิตกเป็นเครื่องมือของกองทัพจนนำไปสู่สงครามครั้งใหญ่หลายครั้งกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ใช่หรือไม่

จักรพรรดิเมจิ                                                                                                      จักรพรรดิเมจิ


ญี่ปุ่นแพ้สงครามในสมัยโชวะ จักรพรรดิโชวะมีพระราชดำรัสต่อประชาชนในสมัยนั้นโดยออกอากาศทางวิทยุว่าญี่ปุ่นต้องยอมรับสภาพที่ยอมรับได้ยาก (หมายถึงความพ่ายแพ้) และจักรพรรดิคือคนธรรมดา ไม่ใช่เทพ อเมริกาเข้ามาจัดการระบบต่าง ๆ ของญี่ปุ่นเสียใหม่ รวมทั้งสถานะของจักรพรรดิด้วย ญี่ปุ่นมีรัฐธรรมนูญฉบับหลังสงคราม หมวดจักรพรรดิคือหมวดแรกสุดในทั้งหมดสิบเอ็ดหมวด โดยประกอบด้วย 8 มาตรา มาตราแรกบัญญัติไว้ชัดเจนว่า จักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น และด้วยความพ่ายแพ้หลังสงครามกอปรกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สถาบันจักรพรรดิก็อยู่เหนือการเมืองตลอดมา


ญี่ปุ่นมีจักรพรรดิจนถึงสมัยเฮเซ 125 รัชสมัย (หรือรุ่น) แต่มีจำนวน 123 พระองค์ เพราะบางองค์ครองราชย์ซ้ำหลังจากสละราชสมบัติไปแล้ว (หรือหากนับช่วงที่มี 2 องค์พร้อมกันในยุคราชสำนักเหนือ-ใต้จะถือว่ามี 128 องค์) จากสมัยโชวะ เข้าสู่สมัยเฮเซ และเริ่มสมัยเรวะ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้วกว่า 70 ปี เป็นเจ็ดทศวรรษที่สถานภาพของสถาบันจักรพรรดิเปลี่ยนไปมากเมื่อเทียบช่วงแรก

จักรพรรดิโชวะ                                                                                                จักรพรรดิโชวะ

นอกจากการอยู่เหนือการเมือง หรือพูดอย่างตรงไปตรงมาคือห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแล้ว เสรีภาพก็ถูกจำกัดอยู่ไม่น้อย รวมทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย ปัจจุบันทรัพย์สินที่จะใช้กับสถาบันจักรพรรดิแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือ ค่าใช้จ่ายสำหรับราชวงศ์ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ (324 ล้านเยนในปีงบประมาณ 2560 เป็นต้น) ค่าใช้จ่ายสำหรับพระบรมวงศนุวงศ์ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัง ส่วนที่สอง คือค่าใช้จ่ายสำนักพระราชวัง (11,470 ล้านเยนในปีงบประมาณ 2560) ทั้งหมดนี้มีกฎหมายกำกับ มิใช่การบริหารโดยพระราชประสงค์ และเมื่อมีประเด็นใดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันนี้ ผู้ที่จะเป็นคนคิดแทนคือคณะรัฐมนตรีกับผู้เชี่ยวชาญ อย่างการสละราชสมบัติก็เช่นกัน สมเด็จพระจักรพรรดิทรงไม่สามารถดำเนินการได้โดยอิสระ สิ่งที่พระองค์ทรงทำได้คือ การแสดงพระราชประสงค์เท่านั้น ส่วนผู้ที่ตัดสินอย่างเป็นทางการคือรัฐบาล ซึ่งต้องออกกฎหมายและเตรียมการต่าง ๆ นานาดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ นี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับสถาบันจักรพรรดิตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป


ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากไม่ว่ากับเรื่องใด ยิ่งเป็นระบอบที่ยืนยาวพันกว่าปีด้วยแล้วย่อมเลี่ยงไม่พ้น สถาบันจักรพรรดิของญี่ปุ่นผ่านความเปลี่ยนแปลงมาหลายระลอก ทั้งจักรพรรดิยุคตำนาน ยุคอำนาจตามพระราชประสงค์ ยุคขุนนางครองเมือง ยุคซามูไร ยุคทหารนิยม มาจนถึงยุคสัญลักษณ์สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ่านมากี่ยุคกี่สมัยก็กล่าวได้ว่าสถาบันนี้จะยังเป็นความภูมิใจของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ต่อไปอีกนานแน่นอน