ข่าวต่างประเทศ » อินเดีย จัดใหญ่ สร้างถนน 246 กม.จากขยะพลาสติก

อินเดีย จัดใหญ่ สร้างถนน 246 กม.จากขยะพลาสติก

18 กรกฎาคม 2019
1051   0

 

รัฐ kerala ที่ประเทศอินเดีย แก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองด้วยการใช้ขยะพลาสติกจำนวน 9,700 ตัน เพื่อสร้างถนนความยาวถึง 246 กิโลเมตร ถือว่าไม่เพียงช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก แต่ยังเป็นวิธีสร้างงานให้กับชาวบ้าน แถมได้ถนนที่มีคุณภาพ สร้างความสะดวกสบายแก่ทุกคน

อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรสูงเป็นอันดับสองของโลก หนึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ตามมาเหมือนในหลายประเทศก็คือ ปริมาณขยะพลาสติกแต่ละวันจนมีกองเป็นภูเขาขยะใหญ่โตมากขึ้นทุกวัน

รัฐต่างๆ ในอินเดียจึงเริ่มคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆในการจัดการภัยพิบัตินี้ ตัวอย่างเช่น เมือง Panchayat ในรัฐ kerala ได้ก่อตั้งโปรเจคในการรีไซเคิลขยะ โดยการนำพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้มา “สร้างถนน”

อดีตนายกเมือง Panchayat ที่กำลังมองหาวิธีกำจัดขยะพลาสติก พร้อมคณะเทศบาลเมืองได้เข้าไปหากรมโยธาธิการ public works department (PWD) เพื่อหารือเรื่องเทคนิคการทำถนนจากขยะพลาสติก และแนวความคิดที่ดีนี้ต่อมาได้รับการอนุมัติ และก็เริ่มทันทีโดยใช้ขยะพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยผสมกับยาน้ำมันดินมาสร้างถนน


การขับเคลื่อนของรัฐ kerela ก่อให้เกิดหน่วยงานที่ชื่อว่า Kudumbashree พนักงานของหน่วยงานนี้จะไปตามบ้านต่างๆ ทุกสัปดาห์เพื่อเก็บขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ เช่น กล่องใส่อาหาร โฟม ผ้าอ้อมเด็กใช้แล้วทิ้ง ฝาขวด ถุงหูหิ้ว หรือแม้แต่ท่อพีวีซี

หน่วยงานดังกล่าวนำขยะพลาสติกที่เก็บได้มาหั่นด้วยเครื่องจักรหั่นพลาสติก ซึ่งสามารถหั่นและบีบอัดพลาสติกได้ 500 กิโลกรัมต่อวัน และนำไปจำหน่ายให้กับ PWD เมื่อนำมาทำถนนต่อไป

จากผลการศึกษาถนนจากพลาสติก พบว่าการใช้พลาสติกไม่ทำให้คุณภาพของถนนลดลง ในทางตรงกันข้าม พลาสติกที่ละลายจะเชื่อมหินกับกรวดได้ดีกว่า และเพิ่มอายุการใช้งานของถนนได้อีกต่างหาก

ทั้งนี้การใช้พลาสติกยังช่วยลดผลกระทบถนนจากน้ำที่มากัดเซาะ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของถนนเพื่อรับมือกับการจราจรคับคั่งได้ดี ส่วนยางมะตอยที่ได้จากน้ำมันดิบเพื่อนำมาใช้คลุมถนนอีกทีก็ใช้น้อยลงจึงช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากการทำถนนลาดยางนั้นต้องอาศัยน้ำมันดิบในปริมาณมหาศาล

ปัจจุบันการใช้ขยะพลาสติกมาสร้างถนน ทำให้หน่วยงานของรัฐ kerala นำมาเป็นหนึ่งของระบบการทำงานเพื่อจัดการขยะพลาสติกแล้ว

 

สำหรับรัฐ Kerela ที่เป็นเมืองเล็กๆ แต่มีจำนวนประชากรสูง และมีปัญหาด้านการจัดการพื้นที่ ทางการของรัฐจึงเห็นพ้องว่าอีกหนึ่งวิธีเพื่อจะจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกก็คือทำตามหลักการ 3R คือ reduce reuse recycle ซึ่งเขาได้พิสูจน์แล้วว่าจัดการกับขยะพลาสติกได้ดีขึ้น


ข้อมูลการทำถนนโดยใช้ขยะพลาสติกโดยทางรัฐ Kerela ที่เป็นแกนหลักขับเคลื่อน เริ่มดำเนินการก่อสร้างถนนมาตั้งแต่ต้นปี แต่ถือว่าเป็นวิธีการรีไซเคิลที่นำไปใช้หลายประเทศ แม้กระทั่งประเทศไทยก็นำมาใช้แล้ว แม้จะยังไม่ยิ่งใหญ่เท่า แต่ก็นับเป็นวิธีช่วยแก้ไขสองปัญหาใหญ่ให้กับภาครัฐพร้อมกันทีเดียว ทั้งการจัดการปัญหาขยะพลาสติกที่กำลังเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมซึ่งสร้างงานแก่คนในท้องถิ่นจำนวนมาก

ข้อมูลอ้างอิง Environman, https://www.thebetterindia.com/183937/kerala-plastic-waste-roads-eco-friendly-employment-women-india/