ข่าวเด่น » อาการโรค COVID-19 โคโรนา ต่างกันยังไง ไข้หวัดทั่วไป-ไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก

อาการโรค COVID-19 โคโรนา ต่างกันยังไง ไข้หวัดทั่วไป-ไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก

3 มีนาคม 2020
1393   0

 

– COVID-19 :  เกิดจากเชื้อ โคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ SAR-CoV-2 มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน แต่มีช่วงเวลาระหว่าง 0-24 วัน ในการแสดงอาการป่วย

– ไข้หวัดธรรมดา : พวกเชื้อไวรัสชนิดไม่รุนแรง เช่น ไรโนไวรัส โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรง เช่น CoV 229E, OC43, NL63, HKU1 รวมทั้งเชื้อแบคทีเรีย

– ไข้หวัดใหญ่ : เกิดจากเชื้อไวรัส 3 ชนิด คือ A B และ C โดยเชื้อไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ก่อให้เกิดการระบาดทั่วโลก ซึ่งเชื้อไวรัสชนิด A จะมีเชื้อไวรัสย่อย ๆ อีกหลายตัว ได้แก่ เชื้อไวรัส A(H1N1),  A(H1N2),  A(H3N2),  A(H5N1) และ A(H9N2) แต่พบการติดเชื้อได้บ่อยในไวรัสชนิด A(H1N1) และ A(H3N2) ส่วนไวรัสชนิด B ก่อให้เกิดการระบาดภายในภูมิภาค และไวรัสชนิด C เป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง และมักไม่มีการระบาด

– ไข้เลือดออก : เกิดจากไวรัสเดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ทั้งนี้ระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ประมาณ 5-8 วัน (สั้นสุด 3 วัน นานสุด 15 วัน) หลังจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่กัด

เทียบให้ชัด อาการ COVID-19-ไข้หวัดทั่วไป-ไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก ต่างกันยังไง

          เพราะทุกโรคมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก เป็นที่สับสนก็บ่อย แล้วอย่างนี้พอจะมีจุดสังเกตอื่น ๆ บ้างไหม
          อาการ COVID-19 ที่เรารู้มาบ้างก็คือมีไข้สูง แต่อาการของโรคไข้เลือดออก หรือไข้หวัดใหญ่ก็มีไข้สูงได้เหมือนกัน ยิ่งถ้าพูดถึงอาการไอ จาม มีเสมหะ โรคไข้หวัดธรรมดาก็เป็นได้ แล้วอย่างนี้พอจะมีอะไรมาแยกความแตกต่างของ COVID-19 ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดาบ้าง ลองมาเทียบความแตกต่างของ 4 โรคนี้เลย
Covid-19
เชื้อก่อโรค

          – COVID-19 :  เกิดจากเชื้อ โคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ SAR-CoV-2 มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน แต่มีช่วงเวลาระหว่าง 0-24 วัน ในการแสดงอาการป่วย

– ไข้หวัดธรรมดา : พวกเชื้อไวรัสชนิดไม่รุนแรง เช่น ไรโนไวรัส โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรง เช่น CoV 229E, OC43, NL63, HKU1 รวมทั้งเชื้อแบคทีเรีย

– ไข้หวัดใหญ่ : เกิดจากเชื้อไวรัส 3 ชนิด คือ A B และ C โดยเชื้อไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ก่อให้เกิดการระบาดทั่วโลก ซึ่งเชื้อไวรัสชนิด A จะมีเชื้อไวรัสย่อย ๆ อีกหลายตัว ได้แก่ เชื้อไวรัส A(H1N1),  A(H1N2),  A(H3N2),  A(H5N1) และ A(H9N2) แต่พบการติดเชื้อได้บ่อยในไวรัสชนิด A(H1N1) และ A(H3N2) ส่วนไวรัสชนิด B ก่อให้เกิดการระบาดภายในภูมิภาค และไวรัสชนิด C เป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง และมักไม่มีการระบาด

– ไข้เลือดออก : เกิดจากไวรัสเดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ทั้งนี้ระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ประมาณ 5-8 วัน (สั้นสุด 3 วัน นานสุด 15 วัน) หลังจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่กัด

อาการป่วย
COVID-19

มีไข้

– COVID-19  : ไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส โดยมีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง นานประมาณ 4 วัน ไข้ก็ไม่ลด

– ไข้หวัดทั่วไป : มีไข้ต่ำ ๆ ประมาณ 37.2 องศาเซลเซียส โดยอาการไข้จะมีอยู่ราว ๆ 3-4 วัน เมื่อกินยาและพักผ่อนไข้จะค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

– ไข้หวัดใหญ่ : ในผู้ใหญ่จะมีไข้สูงประมาณ 38 องศาเซลเซียส แต่ในเด็กอาจมีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส และมีอาการไข้สูงต่อเนื่องได้นาน 3-5 วัน ร่วมกับอาการหนาวสั่น

– ไข้เลือดออก : มีไข้สูงลอยมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-7 วัน จากนั้นไข้อาจลดลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับอาการอื่น ๆ ตามมา

เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก

– COVID-19  : บางรายมีอาการไอ และอาจมีเสมหะได้ โดยเสมหะอาจมีเลือดติดมาเป็นสาย แต่มีน้อยรายที่แสดงอาการเจ็บคอ หรือน้ำมูกไหล

– ไข้หวัดทั่วไป : อาจมีน้ำมูกไหล ไอ จาม และคัดจมูก  แต่เป็นไม่มาก โดยทั่วไปจะดีขึ้นใน 3-4 วัน

– ไข้หวัดใหญ่ : อาจมีอาการไอเพราะหลอดลมอักเสบ หรือบางคนอาจไอรุนแรง แน่นหน้าอก และมีอาการเจ็บคอ คออักเสบได้ ส่วนอาการคัดจมูก มีน้ำมูก พบได้บ้าง

– ไข้เลือดออก : ไม่ค่อยพบอาการเหล่านี้ แต่อาจมีอาการไอเล็กน้อยในบางคน

ท้องเสีย

–  COVID-19 : อาจมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวได้ในบางราย แต่พบอาการนี้ค่อนข้างน้อย

– ไข้หวัดทั่วไป : มักไม่มีอาการท้องเสีย หรือถ่ายเหลวร่วมด้วย

– ไข้หวัดใหญ่ : อาจพบอาการท้องเสียในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

– ไข้เลือดออก : จุดสังเกตคือมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรืออุจจาระมีสีดำคล้ำ

เทียบให้ชัด อาการ COVID-19-ไข้หวัดทั่วไป-ไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก ต่างกันยังไง

          เพราะทุกโรคมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก เป็นที่สับสนก็บ่อย แล้วอย่างนี้พอจะมีจุดสังเกตอื่น ๆ บ้างไหม
          อาการ COVID-19 ที่เรารู้มาบ้างก็คือมีไข้สูง แต่อาการของโรคไข้เลือดออก หรือไข้หวัดใหญ่ก็มีไข้สูงได้เหมือนกัน ยิ่งถ้าพูดถึงอาการไอ จาม มีเสมหะ โรคไข้หวัดธรรมดาก็เป็นได้ แล้วอย่างนี้พอจะมีอะไรมาแยกความแตกต่างของ COVID-19 ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดาบ้าง ลองมาเทียบความแตกต่างของ 4 โรคนี้เลย
Covid-19
เชื้อก่อโรค

         – COVID-19 :  เกิดจากเชื้อโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ SAR-CoV-2 มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน แต่มีช่วงเวลาระหว่าง 0-24 วัน ในการแสดงอาการป่วย

– ไข้หวัดธรรมดา : พวกเชื้อไวรัสชนิดไม่รุนแรง เช่น ไรโนไวรัส โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรง เช่น CoV 229E, OC43, NL63, HKU1 รวมทั้งเชื้อแบคทีเรีย

– ไข้หวัดใหญ่ : เกิดจากเชื้อไวรัส 3 ชนิด คือ A B และ C โดยเชื้อไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ก่อให้เกิดการระบาดทั่วโลก ซึ่งเชื้อไวรัสชนิด A จะมีเชื้อไวรัสย่อย ๆ อีกหลายตัว ได้แก่ เชื้อไวรัส A(H1N1),  A(H1N2),  A(H3N2),  A(H5N1) และ A(H9N2) แต่พบการติดเชื้อได้บ่อยในไวรัสชนิด A(H1N1) และ A(H3N2) ส่วนไวรัสชนิด B ก่อให้เกิดการระบาดภายในภูมิภาค และไวรัสชนิด C เป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง และมักไม่มีการระบาด

– ไข้เลือดออก : เกิดจากไวรัสเดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ทั้งนี้ระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ประมาณ 5-8 วัน (สั้นสุด 3 วัน นานสุด 15 วัน) หลังจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่กัด

อาการป่วย
COVID-19

มีไข้

– COVID-19  : ไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส โดยมีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง นานประมาณ 4 วัน ไข้ก็ไม่ลด

– ไข้หวัดทั่วไป : มีไข้ต่ำ ๆ ประมาณ 37.2 องศาเซลเซียส โดยอาการไข้จะมีอยู่ราว ๆ 3-4 วัน เมื่อกินยาและพักผ่อนไข้จะค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

– ไข้หวัดใหญ่ : ในผู้ใหญ่จะมีไข้สูงประมาณ 38 องศาเซลเซียส แต่ในเด็กอาจมีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส และมีอาการไข้สูงต่อเนื่องได้นาน 3-5 วัน ร่วมกับอาการหนาวสั่น

– ไข้เลือดออก : มีไข้สูงลอยมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-7 วัน จากนั้นไข้อาจลดลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับอาการอื่น ๆ ตามมา

เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก

– COVID-19  : บางรายมีอาการไอ และอาจมีเสมหะได้ โดยเสมหะอาจมีเลือดติดมาเป็นสาย แต่มีน้อยรายที่แสดงอาการเจ็บคอ หรือน้ำมูกไหล

– ไข้หวัดทั่วไป : อาจมีน้ำมูกไหล ไอ จาม และคัดจมูก  แต่เป็นไม่มาก โดยทั่วไปจะดีขึ้นใน 3-4 วัน

– ไข้หวัดใหญ่ : อาจมีอาการไอเพราะหลอดลมอักเสบ หรือบางคนอาจไอรุนแรง แน่นหน้าอก และมีอาการเจ็บคอ คออักเสบได้ ส่วนอาการคัดจมูก มีน้ำมูก พบได้บ้าง

– ไข้เลือดออก : ไม่ค่อยพบอาการเหล่านี้ แต่อาจมีอาการไอเล็กน้อยในบางคน

ท้องเสีย

–  COVID-19 : อาจมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวได้ในบางราย แต่พบอาการนี้ค่อนข้างน้อย

– ไข้หวัดทั่วไป : มักไม่มีอาการท้องเสีย หรือถ่ายเหลวร่วมด้วย

– ไข้หวัดใหญ่ : อาจพบอาการท้องเสียในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

– ไข้เลือดออก : จุดสังเกตคือมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรืออุจจาระมีสีดำคล้ำ

Covid-19

คลื่นไส้ อาเจียน

–  COVID-19 : มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในบางราย

– ไข้หวัดทั่วไป : มักไม่มีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียน

– ไข้หวัดใหญ่ : อาจพบอาการในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

– ไข้เลือดออก : มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับอาการไข้ในผู้ป่วยบางราย

เลือดออกผิวหนัง

–  COVID-19 : ไม่มีอาการ

– ไข้หวัดทั่วไป : ไม่มีอาการ

– ไข้หวัดใหญ่ : ไม่มีอาการ

– ไข้เลือดออก : มีจุดแดงเล็ก ๆ กระจายตามผิวหนัง หรือมีผื่นปื้นแดงขึ้นตามลำตัว

ปวดเมื่อย

–  COVID-19 : ปวดเมื่อยเนื้อตัว เหนื่อยง่าย รู้สึกเพลีย เบื่ออาหาร ทานอะไรไม่ค่อยลง

– ไข้หวัดทั่วไป : มีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อย

– ไข้หวัดใหญ่ : มักจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดเบ้าตา ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามแขนและขามาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

– ไข้เลือดออก : มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก ปวดกระบอกตา ปวดใต้ชายโครงขวาเป็นพิเศษ กดแล้วรู้สึกเจ็บ เกิดจากอาการตับโต

 เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก

–  COVID-19  : อาจมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อยหอบ จากภาวะปอดบวม

– ไข้หวัดทั่วไป : มักไม่พบอาการเหนื่อยหอบร่วมกับอาการไข้ ไอ จาม แต่อาจรู้สึกหายใจไม่สะดวกอยู่บ้าง เพราะน้ำมูกอุดตัน

– ไข้หวัดใหญ่ : อาจมีอาการเพลีย เหนื่อยง่าย แต่ไม่ค่อยพบอาการเหนื่อย หอบ หรือหายใจเร็ว นอกจากในกรณีมีภาวะแทรกซ้อนเป็นอาการปอดบวม ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

– ไข้เลือดออก : มีอาการซึมอย่างเห็นได้ชัด แต่ไม่ค่อยพบอาการเหนื่อยหอบ หายใจแรง จากภาวะปอดผิดปกติ นอกจากผู้ที่มีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

ปอดอักเสบ

–  COVID-19  : โดยเฉลี่ยจะมีอาการปอดอักเสบเพียง 5-20% และเกิดกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รวมไปถึงจำนวนเชื้อและระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อ หากรักษาไม่ทัน ก็อาจอันตรายถึงชีวิต

– ไข้หวัดทั่วไป : มักไม่เจออาการปอดอักเสบในผู้ป่วยโรคไข้หวัดทั่วไป นอกจากมีอาการแทรกซ้อน อย่างปอดบวม

– ไข้หวัดใหญ่ : อาจพบอาการปวดบวม ปอดอักเสบ ในผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก

– ไข้เลือดออก : ส่วนใหญ่จะไม่พบอาการปอดอักเสบในผู้ป่วยไข้เลือดออก เพราะเชื้อไม่เพาะตัวในระบบทางเดินหายใจ แต่อยู่ในกระแสเลือด

Covid-19
การรักษา

          COVID-19

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคที่ชัดเจน แต่แพทย์จะรักษา COVID-19 ด้วยการใช้ยาต้านไวรัสและยาอื่น ๆ หลายขนาน ทั้งยา remdesivir, chloroquine, lopinavir+ritonavir, interferon ชนิดพ่น, losartan, แอนติบอดีชนิด monoclonal, พลาสมาจากผู้ป่วยที่หายจากโรคนี้ และล่าสุดมียาต้านโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019 จากจีนที่ชื่อว่า Favilavir โดยจากการทดลองรักษาผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 70 รายในประเทศจีน พบว่าให้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่เป็นความหวังของคนทั้งโลก

ไข้หวัดทั่วไป

รักษาได้ด้วยการลดไข้ เช่น เช็ดตัวบ่อย ๆ หากมีไข้สูงก็อาจจะกินยาลดไข้ และพักผ่อนให้เพียงพอ อาจให้ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้กรณีมีน้ำมูก ซึ่งปกติแล้วอาการไข้หวัดจะเป็นภายใน 3-4 วัน และไข้จะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหายจากอาการไม่สบายได้โดยไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ

ไข้หวัดใหญ่

วิธีรักษาคล้าย ๆ กับโรคไข้หวัดธรรมดา กล่าวคือ รักษาไปตามอาการ หากไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้ หรือรับประทานยาบรรเทาไข้ นอกจากมีอาการรุนแรง แพทย์จะทำการรักษาไปตามอาการแทรกซ้อนนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีอาการรุนแรง เช่น เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A หรือ B แพทย์จะให้ยาต้านไวรัส ที่รู้จักกันดีก็คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ หรือ ซานามิเวียร์

ไข้เลือดออก

การรักษาโรคไข้เลือดออกจะรักษาไปตามอาการ โดยยาที่ใช้ลดไข้จะเป็นยาพาราเซตามอล และห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน ทำให้เลือดออกในร่างกายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจเกล็ดเลือดของผู้ป่วยทุกวัน และดูแลอย่างใกล้ชิด

ภาวะแทรกซ้อน
         –  COVID-19 : หากอาการรุนแรง อาจมีภาวะปอดอักเสบ ปอดล้มเหลว ไตวาย ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หัวใจวาย และเสียชีวิต

– ไข้หวัดทั่วไป : หากอาการหนัก อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัส หูอักเสบ หรือปวดบวมได้

– ไข้หวัดใหญ่ : อาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ไซนัส หอบหืด หรือภาวะหัวใจล้มเหลว

– ไข้เลือดออก : บางรายที่อาการหนักจะมีภาวะอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นเลือด ตับโต กดเจ็บ ติดเชื้อในกระแสเลือด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสี่ยงต่อภาวะช็อกในวันที่ 4 ของการเป็นไข้

จะเห็นว่าอาการป่วยของแต่ละโรคมีส่วนคล้ายกันอยู่บ้าง แต่หากเป็นโรค COVID 19 นอกจากจะมีไข้ ไอ แล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามตัว ร่วมกับเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ดังนั้น ถ้าใครเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ หรืออยู่ใกล้ชิดผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง แล้วมีอาการดังกล่าวภายใน 14 วัน ให้โทร. 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค ได้เลย